ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 9

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 9 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า "สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์" ก่อนหน้าเลือกตั้งจะเกิดขึ้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศจะจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ให้บริสุทธิ์ ถวายเป็น "พุทธบูชา" เนื่องในโอกาสครบรอบวาระกึ่งพุทธกาล

แต่ก่อนการเลือกตั้งนั้น ได้มีการข่มขู่สารพัดจากบรรดานักเลง อันธพาล ที่ทางรัฐบาลเรียกว่า "ผู้กว้างขวาง" โดยบังคับให้ชาวบ้านเลือกแต่ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล มีการใช้อุจจาระป้ายตามประตูบ้าน รวมทั้งใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวประณามพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ด้วย

เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง ปรากฏว่า มีการใช้คนฝ่ายรัฐบาลเวียนเทียนกันลงคะแนน เรียกว่า "พลร่ม" เมื่อปิดหีบแล้วมีการยัดบัตรลงคะแนนเถื่อนเข้าไป เรียกว่า "ไพ่ไฟ" ตลอดจนแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาคน และมีการเหตุขลุกขลักขึ้นในหลายพื้นที่ รุนแรงถึงขนาดมีการฆาตกรรมคนที่สนับสนุนผู้สมัครบางคนด้วย อีกทั้งการนับคะแนนยังใช้เวลานับกันยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกตีแผ่อย่างกว้างขวางในหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2498 เพื่อรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 85 ที่นั่ง เฉพาะในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี อันเป็นเมืองหลวง ได้ถึง 8 ที่นั่ง โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 4 ที่นั่งเท่านั้น คือ พันตรี ควง นาวาโท พระประยุทธชลธี นายไถง นายมนัส และทั่วประเทศได้เพียง 31 ที่นั่งเท่านั้น

ดังนั้น ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชน ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเริ่มขบวนที่ท้องสนามหลวง และเดินไปเรื่อยโดยมีทำเนียบรัฐบาลเป็นจุดหมาย มีการลดธงชาติครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง โดยหมายจะให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชี้แจงการเลือกตั้งครั้งนี้ให้จงได้โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันเดียวกันนั้น ต่อมาเมื่อขบวนผู้ชุมนุมมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ที่ทางจอมพล ป.แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมดูแลสถานการณ์ กลับถอดหมวกโบกรับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่าทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และนำพาผู้ชุมนุมเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเจรจากับ จอมพล ป.เอง ที่สุด จอมพล ป.ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า และได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป.ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การชุมนุมจึงสลายตัวไป และมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2500

แต่ต่อมาเหตุการณ์ได้ขยายตัวและบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มทหารและตำรวจที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก จนกลายเป็นการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ในที่สุด

การเลือกตั้งในครั้งกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ทั้งหมด 160 คน เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 โดยจังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดสระบุรี คิดถัวเฉลี่ยร้อยละ 93.30 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรี คิดถัวเฉลี่ย 42.06

หลังผลการเลือกตั้งออก สื่อมวลชนได้ประนามว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรก แต่จอมพล ป.พิบูลสงครามได้แถลงต่อหนังสือพิมพ์ว่า อย่าเรียกว่าการเลือกตั้งสกปรกเลย ควรจะเรียกว่าเป็น “การเลือกตั้งไม่เรียบร้อย”

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ชักธงชาติลงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง จากนั้นนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยการศึกษา และ วิทยาลัยเทคนิค รวมทั้งประชาชนได้รวมตัวกันประท้วงการเลือกตั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้มีข่าวเตรียมเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งเผยแพร่ออกไปสู่ประชาชนทางหนังสือพิมพ์

ภายหลังเหตุการณ์รัฐบาลจึงได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 โดยมีใจความสำคัญว่า "มีคณะบุคคลจากการสนับสนุนของชาวต่างชาติจะก่อกวนให้เกิดความไม่สงบเพื่อจะฉวยโอกาสยึดครองประเทศ จึงขอให้ประชาชนอยู่ในความสงบ" หลังจากนั้นก็ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในแถลงการณ์ฉบับที่ 2 และในแถลงการณ์ฉบับที่ 3 ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีมติคณะรัฐมนตรีให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหารรับผิดชอบจัดการรักษาความสงบ ด้วยทั้งนี้เป้าหมายของรัฐบาลนั้นต้องการป้องกันการเดินขบวนประท้วงของนักศึกษาและประชาชน

แต่การชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังดำเนินต่อได้กลับก่อให้เกิดปฏิกิริยาให้นักศึกษาดำเนินการเดินขบวนคัดค้านการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเข้มข้นจริงจังขึ้นมาอีก จนกระทั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เดินทางมาที่จุฬาลงกรณ์เพื่อกล่าวปราศรัยและรับทราบความไม่พอใจของนักศึกษาและประชาชน ซึ่งฝ่ายผู้ชุมนุมได้ขออนุญาตจอมพลสฤษดิ์เดินขบวนประท้วง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ได้อนุญาต จึงทำให้จอมพลสฤษดิ์เริ่มได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากเหล่านิสิตนักศึกษาและประชาชนมากขึ้น ในขณะที่ความนิยมของจอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอก เผ่า ถูกลดความนิยมลง

โดยในเวลา 15.00 นาฬิกา ในวันเดียวกันนั้นคลื่นมหาชนที่ร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้เดินขบวนเรียกร้องไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอพบพระยารามราชภักดีในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่ปลัดกระทรวงมอบหมายหลวงชาติตระการโกศล อธิบดีกรมมหาดไทยออกมาชี้แจงแทน ซึ่งกลุ่มผู้เดินขบวนได้ยื่นข้อเรียกร้องรวม 6 ข้อ โดยมีจุดประสงค์สำคัญให้รัฐบาลประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะและให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยขอให้รัฐบาลให้คำตอบภายในวันเดียวกัน ต่อมาจึงเดินขบวนต่อไปที่ท้องสนามหลวงและเปิดไฮด์ปาร์คโจมตีรัฐบาล

จนในเวลา 17.30 นาฬิกา ก็เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลไทยอันเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญเพื่อไปเรียกร้องกับนายกรัฐมนตรีเมื่อขบวนผ่านถนนราชดำเนินกลางก็มีประชาชนมาสมทบจนขบวนใหญ่ขึ้นทุกที โดยมีทหารเตรียมสกัดอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ไม่ให้ประชาชนผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ในขณะที่ทหารและประชาชนประจันหน้ากันอยู่อย่างตึงเครียดนั้น สุดท้ายฝ่ายทหารก็ยอมเปิดทางให้ประชาชนเดินขบวนต่อไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยฝูงชนได้พังประตูทำเนียบเข้าไป และได้พบรัฐบาลหลายคนรวมทั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็อยู่ในที่นั้นด้วย ผู้เดินขบวนได้เรียกร้องโดยตรงกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ชี้แจงถึงการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเมื่อจอมพล ป. พูดไม่ยอมรับปากจะจัดการให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง ประชาชนจึงเกิดไม่พอใจและได้โห่จอมพล ป.และขอให้จอมพลสฤษดิ์ชี้แจงแทนซึ่งเมื่อไม่สามารถทัดทานเสียงเรียกร้องของประชาชนได้ จอมพล ป.จึงยอมให้จอมพลสฤษดิ์ชี้แจงแทนโดยขอให้ทุกคนช่วยกันรักษาความสงบ ส่วนปัญหาที่ทางผู้ชุมนุมเรียกร้องนั้นจอมพลสฤษดิ์รับปากว่าจะขอรับไปนำเสนอเพื่อแก้ไขในคณะรัฐบาลภายหลัง ประชาชนจึงพอใจและสลายการชุมนุมและเหตุการณ์ก็คืนสู่ภาวะปกติ จนรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2500


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406